สวัสดีนิสิตที่รักทุกคน ยินดีตอนรับสู่ภาคเรียนที่ 2/2554 น่ะครับหวังว่าคงสนุกกับการเรียนรู้น่ะครับ
สำหรับเกรดวิชาพัฒนาหลักสูตร ยังไม่เรียบร้อยน่ะครับ เจอกันสัปดาห์หน้าจะแจ้งอีกครั้งครับ
สัปดาห์ที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำรายวิชา / ตารางกิจกรรม / การวิจัยเพื่อพัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์
- ให้นิสิตทุกคนศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับ การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในประเด็นที่นิสิตสนใจ
จาก 4 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์ เกษตรศาสตร์ ขอนแก่น และศรีนครินทรวิโรฒ
(กำหนดสัดส่วนให้เท่าๆ กัน คือ 4+3+3+3 = 13 คน) และคัดเลือกเอางานวิจัยที่ดีที่สุดที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี นับจากปัจจุบันมานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป (26 พศจิกายน 2554) โดย ppt คนละไม่เกิน 10 นาที พร้อมทั้งทำเอกสารแจกอาจารย์และเพื่อนทั้ง 13 คน (งานรายบุคคลน่ะครับ)
ในการนำเสนอควรสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้
1. ชื่องานวิจัย ผู้วิจัย ปีที่พิมพ์ สถาบัน
2. ปัญหาของงานวิจัยคืออะไร ประเด็นที่ศึกษามีความสำคัญอย่างไร
ผู้วิจัยจะทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาหรือศึกษาเรื่องราวดังกล่าวได้ ทำไมผู้วิจัยถึงคิดว่าวิธีการดังกล่าวจะแก้ปัญหาได้
3. วัตถุประสงค์ของงานวิจัย สมมติฐาน ตัวแปรของการวิจัย กรอบแนวคิดของการวิจัย คืออะไร
4. ผู้วิจัยไปศึกษาเอกสารเกี่ยวกับอะไรมาบ้าง (เฉพาะหัวข้อ) ทำไมต้องศึกษา
5. ผู้วิจัยใช้เครื่องมือใดในการศึกษา เครื่องมือมีลักษณะเป็นอย่างไร
6. ผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างไร และมีแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรเพื่อต่อสมมติฐานหรือวัตถุประสงค์ของงานวิจัยอย่างไร
7. สรุปผลของการวิจัยเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น (อภิปรายในมุมของผู้วิจัย)
8. ข้อเสนอแนะของการวิจัย
9. ข้อเด่นและจุดด้อยของงานวิจัยนี้ (ในมุมมองของผู้นำเสนอ)
10. ทำไมผู้นำเสนอถึงสนใจเรื่องนี้
readmore
สัปดาห์ที่ 2 นำเสนองานวิจัย
- ให้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อกำหนดหัวข้อวิจัยทางการสอนวิทยาศาสตร์ DOC
สัปดาห์ที่ 3 นำเสนองานวิจัย / ตารางกิจกรรม
- นิสิตครับเราจะมีการจัดโครงการวิพากษ์หัวข้อวิทยานิพนธ์ (สอบหัวข้อ) ในประมาณสัปดาห์ที่ 10
หรือวันที่ 21 มกราคม 2555 ซึ่งอาจารย์จะให้นิสิตเป็นเจ้าของโครงการ ดังนั้นเค้าโครงการวิจัยฉบับย่อย
ควรเสร็จก่อนอย่างน้อย 10 วัน เพื่อนำส่งผู้เชี่ยวชาญก่อนถึงวันสอบหัวข้อจริง
ภาคเรียนนี้ตั้งใจมากๆ น่ะครับ มีสมาธิกับงานชิ้นนี้มากๆ น่ะครับ
สัปดาห์ที่ 4 นำเสนอผลการศึกษาชั้นเรียน / อธิปรายเพื่อกำหนดกรอบของปัญหาการวิจัย
เข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
1. ผศ.ดร.ปริญญา ทองสอน 3 คน 089 929 9776
2. ดร.เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ 1 คน
3. ดร.จันทร์พร พรหมมาศ 2 คน 038 102020 (กรุณาโทรในวันเวลาราชการ)
4. ดร.นพมณี เชื้อวัชรินทร์ 5 คน (อ.เชษฐ์ หรือ อ.ปริญญา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษารอง)
086 535 3651 (กรุณาโทรในวันเวลาราชการ)
5. ดร.สมศิริ สิงห์ลพ 5 คน (อ.เชษฐ์ หรือ อ.ปริญญา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษารอง)
081 286 4419 (กรุณาโทรในวันเวลาราชการ)
สัปดาห์ที่ 5 แนวการเขียน/การนำเสนอหัวข้อการวิจัย ตัวอย่างแบบเสนอหัวข้อการวิจัย
นิสิตครับ
1. ในขั้นตอนต่อไปนี้ให้นิสิตเข้าปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาควบคู่ไปด้วย
2. วันที่ 24 ขอให้นำเสนอหัวข้อตามเอกสาร ด้วย ppt พร้อมทั้งมีแบบเสนอหัวข้อการวิจัยที่ตนนำเสนอแจกเพื่อนๆ
3. แบบนำเสนอหัวข้อ ส่งอาจารย์ทาง mail ผ่านในวันศุกร์น่ะครับ เพราะ จะได้อ่านก่อนครับ
ปรับหัวข้อในแบบเสนอดังนี้
เพิ่มหัวข้อ
14. นิยามศัพท์เฉพาะ
15. เอกสารที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะหัวข้อ)
สัปดาห์ที่ 6 31 มกราคม 2554 วันหยุดวันสิ้นปี
- ส่งงานทาง mail อาจารย์จะอ่านให้อย่างละเอียดอีกครั้ง
- ตั้งคณะทำงาน โครงการพิจารณาหัวข้องานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการสอนวิทยาสาสตร์
- ประสานกรรมการ เพื่อกำหนดวันเวลา
- ขออนุมัติโครงการ
- ออกจดหมายเชิญ
- ส่งจดหมายเชิญและแบบเสนอหัวข้อ ก่อนวันนำเสนออย่างน้อย 7 วัน
สัปดาห์ที่ 7 เตรียมความพร้อม เสนอโครงการและหนังสือเชิญ ประชุมการดำเนินการตามโครงการ
สัปดาห์ที่ 8 14 มกราคม 2555
รวบรวมและนำส่งแบบเสนอหัวข้อนำส่งกรรมการพิจารณาหัวข้อการวิจัยทั้ง 13 หัวข้อ
คณะกรรมการประกอบด้วย
1. ผศ.ดร.ปริญญา ทองสอน
2. ดร.เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
3. ดร.นพมณี เชื้อวัชรินทร์
4. ดร.เสาวลักษณ์ โรมา
5. อ.สมศิริ สิงห์ลพ
สัปดาห์ที่ 9 21 มกราคม 2555 วิพากษ์หัวข้อวิทยานิพนธ์
สิ่งที่ต้องเตรียม
ด้านวิชาการ : นิสิตเตรียม ppt เพื่อนำเสนอแนวคิดในการทำวิจัยของตนเองประมาณคนละ 15 นาที
ความรู้และความเข้าใจ :
1. เหตุผลที่ทำวิจัยเรื่องนี้ สภาพปัญหา นวัตกรรมที่จะนำมาแก้ ผลสิ่งที่เกิดขึ้น อธิบายให้สอดคล้อง มีงานวิจัย แนวคิดและทฤษฎีรองรับ
2. ความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีในหัวแปรที่นิสิตกำลังศึกษา : ความหมาย องค์ประกอบ กระบวนการ
3. หากมีตัวอย่างเครื่องมือให้นำมาเสนอแนบท้ายด้วย
อาหารและอาหารว่าง : อาหารกลางวัน 1 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อ ชา กาแฟ น้ำดื้ม สำหรับกรรมการและนิสิต
สถานที่ QS1-407
เวลา 09.00-16.00 น. คงต้องขอเวลาของ อ.ปริญญา ด้วยครับ
สุดท้าย : เตรียมกายและใจ ให้พร้อมครับ
สัปดาห์ที่ 10 28 มกราคม 2555
ส่งงานฉบับสมบูรณ์ พร้อมเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ 3 บท
สัปดาห์ที่ 11 4 กุมภาพันธ์ 2555
เขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ 3 บท (คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์)
แจ้งตารางกิจกรรมและกำหนดการส่งงาน
วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555
1. ส่งแบบเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ (ฉบับสมบูรณ์) E mail โดยใส่ชื่อหัวข้อเป็น
แบบเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ ฉบับสมบูรณ์ ตามด้วย รหัส และชื่อ-สกุล
ขอให้ปรับแก้จนสมบูรณ์ เพราะจะตรวจและให้คะแนนจากงานชิ้นนี้ เพื่อทดแทนการสอนกลางภาค
2. ส่ง บทที่ 1 และปกเค้าโครง (ตามรูปแบบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา)
กรุณาปรับขยายในส่วนของที่มาและความสำคัญของปัญหา ให้ชัดเจนขึ้น
วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555
ส่งบทที่ 1 + ปกเค้าโครง ที่ปรับแก้แล้ว และบทที่ 3 ทาง mail
วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555
Print บทที่ 1 และบทที่ 3 เพื่อพูดคุยกันเป็นรายบุคคล (รูปแบบต้องถูกต้อง)
วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555
ส่ง ปกเค้าโครง บทที่ 1 บทที่ 3 ที่ปรับแก้แล้ว และบทที่ 2 ทาง mail
วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555
Print ปกเค้าโครง บทที่ 1 บทที่ 2 และบทที่ 3 เพื่อพูดคุยกันเป็นรายบุคคล (รูปแบบต้องถูกต้อง)
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555
ส่งปกเค้าโครง บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บรรณานุกรม และตัวอย่างเครื่องมือวิจัย
วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555
ส่งปกเค้าโครง บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บรรณานุกรม และตัวอย่างเครื่องมือวิจัย เพื่อพูดคุยกันเป็นรายบุคคล
สัปดาห์ที่ 12 11 กุมภาพันธ์ 2555
เวลา 09.00-12.00 น. เขาฟับรรยา เรื่อง การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ณ ห้อง QS1-206
ระหว่างฟังบรรยาย อาจารย์ขอพูดคุยด้วยเป็นรายบุคคล พร้อมส่งงาน บทที่ 1 และ 3 print ส่งน่ะครับ
โดยอาจารย์จะนั่งอยู่นอกห้อง แล้วให้นิสิตเข้าพบตามลำดับดังนี้
1. นางสาวโชติกา นาคสวัสดิ์
2. นางสาวตรีรัตน์ ตรีคูณรุ่งเรือง
3. นายทรงกรด แก้วศรีนวล
4. นางสาวธัญญุรีย์ สมองดี
5. นางสาวพัชรินทร์ ศรีพล
6. นางสาวพิรุณรัตน์ เกษอินทร์
7. นางมยุรา ลีหัวสระ
8. นางระพีภรณ์ สมานไชย
9. นางสาววราภรณ์ ขาวสระคู
10. นางสาววันทนี น้อยถนอม
11. นางวันวิสาข์ ศรีวิไล
12. นางสาวศาณิตา ต่ายเมือง
13. นางสาวอุษา สุขสวัสดิ์
เทคนิคการตั้งชื่อหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษ
เนื่องจากศัพท์ที่ใช้ในงานวิจัยนั้น มีความเฉพาะทางสูง
ศัพท์ที่ใช้จะเป็นศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในศาสตร์นั้น
1. ห้ามให้ google แปลให้
2. ให้สืบค้นรายชื่อวิทยานิพนธ์ ที่มีหัวข้อใกล้เคียงกับที่นิสิตทำ ในฐานข้อมูลห้องสมุดของสถาบันต่างๆ
แล้วดูแนวการตั้งแนวการตั้งชื่อภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และศัพท์ทางวิชาการ ที่ใช้
3. สำหรับทางวิทยาศาสตร์ อ้างอิงจากฐานข้อมูลศัพท์ ของ สสวท. http://escivocab.ipst.ac.th/
4. ศัพท์ที่เกี่ยวกับหลักสูตร เช่น กลุ่มสาระ สาระ ตัวชี้วัด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ...
ให้ใช้วิธี ดูเล่มหลักสูตร 51 เล่มภาษาไทย เทียบกับฉบับภาษาอังกฤษ
สามารถ download จาก web ของ สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ
http://www.curriculum51.net/viewpage.php?t_id=64
(กรุณาใช้หลักตามมนี้ในการตั้งชื่อภาษาไทย และการแปลชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ น่ะครับ)
แนวการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา
1. ลำดับการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา :
1.1 สภาพทั่วไปของสิ่งที่เรากำลังจะทำ
1.2 กล่าวถึงสภาพปัญหาโดยภาพกว้างและค่อยแคบลงมาจนถึงปัญหาที่เราสนใจ
1.3 ความสำคัญของปัญหาดังกล่าว
1.4 แนวการแก้ปัญหา
1.5 สรุป
2. หลักการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา :
2.1 ต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงต้นตอของปัญหาอย่างชัดเจน
2.2 ต้องชี้ให้เห็นความสำคัญของปัญหาพร้อมทั้งประโยชน์ที่สำคัญที่จะได้รับจากการวิจัยนั้น โดยอาจสอดแทรกผลงานวิจัยหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ ของบุคคลที่มีชื่อเสียงลงไปด้วย เพื่อให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
2.3 ต้องบอกเหตุผลที่ทำการวิจัยอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยปราศจากข้ออคติส่วนตัวของผู้วิจัย
2.4 ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้อง กะทัดรัดได้ใจความและตรงจุด มีลักษณะการบรรยายที่สละสลวยและพยายามเรียงลำดับความคิดให้ต่อเนื่องกัน
2.5 ข้อความที่เขียนต้องมีลักษณะเป็นการวิเคราะห์ แยกแยะปัญหาอย่างมีเหตุผล เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหาชัดเจนขึ้น
2.6 ในการเขียนควร มีความเห็นเหตุเป็นผล เป็นตรรกะ มีหลักการ ทฤษฎี และงานวิจัยรองรับ
3. เทคนิคเขียนอย่างไรให้เร็วและดี : อ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเรา 10 เรื่อง ขึ้นไป
และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเรา 10 เรื่อง ขึ้นไหน
แล้วเราจะสามารถเขียนตงนี้ได้ไหลลื่นและง่ายขึ้น
4. ตัวอย่าง : มีตัวอย่างให้ดู 2 เรื่อง นะครับ ลองอ่าน ศึกษาลำดับการเขียน องค์ประกอบของการเขียน
ความเป็นเหตุเป็นผล ไม่จำเป็นต้องเขียน เป็น 10 หน้า เสมอไป แต่ของให้องค์ประกอบครบ
ตัวอย่างที่1 ตัวอย่างที่2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น